บริษัทแอปเปิล (อังกฤษ: Apple Inc.) หรือในชื่อเดิม บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Inc.) เป็นบริษัทในซิลิคอนแวลลีย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิล I และแอปเปิล II และแมคอินทอช ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน ไอแพด และร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูนส์
บริษัท Apple Computer Inc. ได้เกิดขึ้นจากการร่วมกันก่อตั้งของ สตีฟ จ็อบส์ และ สตีฟ วอซเนียก ทำการปฏิวัติธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 โดยนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขาย ในชื่อ Apple I ที่ราคาจำหน่าย 666.66 เหรียญ ในจำนวนและระยะเวลาจำกัด ภายในปีถัดมาก็ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำยอดจำหน่ายสูงสุดให้กับบริษัท ณ ขณะนั้นคือ แอปเปิล II ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด (อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางบริษัทจะมุ่งเน้นการขายระบบปฏิบัติการมากกว่าที่จะขายผลิตภัณฑ์ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากบริษัท Intel และ IBM ทำงานได้ดีกว่า)
ก่อตั้งเมื่อ 1 เมษายน 1976 ใน Cupertino, California, และมีผู้ร่วมถือหุ้นในวันที่ 3 มกราคม 1977 บริษัท ฯ ได้ตั้งชื่อไว้ก่อนหน้านี้ Apple Computer, Inc. และมีการใช้ชื่อนี้มากว่า 30 ปี แต่ภายหลังได้ตัดคำว่า"Computer"ออกเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2007 เพื่อสะท้อนให้เห็น การขยายตัวต่อเนื่องของบริษัท ที่ก้าวเข้าสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่สำหรับผู้บริโภคนอกเหนือจากการมุ่งเน้นดั้งเดิมบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2010 แอปเปิลมีจำนวนพนักงานเต็มเวลา 46,600 คน และ 2,800 คนแบบชั่วคราวมียอดขายทั่วโลกประจำปีของ $ 65,230,000,000 เพื่อความเป็นต่างๆเป็นปรัชญาของการออกแบบที่ครบวงจรเพื่อความสวยงามที่โดดเด่นของแคมเปญการโฆษณา, แอปเปิลได้มีชื่อเสียงโดดเด่นในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงฐานลูกค้าที่อุทิศให้กับบริษัท และตราสินค้าของตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา
นิตยสารฟอร์จูนมอบตำแหน่งแอปเปิลชื่นชมมากที่สุดของ บริษัททั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2008 และในโลกในปี 2008, 2009, และ 2010 บริษัท ฯ ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งสำหรับผู้ใช้แรงงานผู้รับเหมา, สิ่งแวดล้อมและแนวทางการดำเนินธุรกิจ
Apple ถูกก่อตั้ง โดย Steve Jobs, Steve Wozniak และ Ronald Wayne, พวกเขาได้ขาย Apple I ชุดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นเครื่องแรก ที่สร้างขึ้นโดย Wozniak และแสดงครั้งแรกต่อประชาชนที่ Homebrew Computer Club โดยถูกขายเป็นเมนบอร์ด (มี CPU, RAM, และชิปแสดง - ข้อความขั้นพื้นฐาน) - ซึ่งถือว่าน้อยกว่าความเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สมบูรณ์ในวันนี้ สิ่งที่ Apple ขายในเดือนกรกฎาคม 1976 และเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราค $ 666.66 ($ 2,572 ในปี 2010 ดอลลาร์เมื่อปรับอัตราเงินเฟ้อ.)
Apple ได้จดทะเบียน 3 มกราคม 1977 โดย Wayne นั้นไม่ร่วมบริษัทอีกต่อไป, โดยหุ้นของ บริษัท นั้นกลับไปหา Jobs และ Wozniak เป็นจำนวน $ 800 เศรษฐีคนสำคัญที่มีชื่อว่า Mike Markkula ให้ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจที่สำคัญและเงินทุนของ $ 250,000 ในระหว่างการรวมตัวกันของแอปเปิล
Apple II ได้รับการแนะนำในวันที่ 16 เมษายน 1977 ที่แรกที่ West Coast Computer Fair มันแตกต่างจากคู่แข่งรายใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นคือ TRS - 80 และ Commodore PET เพราะมาพร้อมกับกราฟิกสีและสถาปัตยกรรมระบบปฏิบัติการแบบเปิด ในขณะที่รุ่นแรกที่ใช้เทปคาสเซ็ทธรรมดาเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพวกเขาถูกแทนที่โดยแนะนำของ 5 1 / 4 นิ้วฟลอปปี้ดิสก์ไดรฟ์และอินเตอร์เฟซ, Disk II Apple II ได้รับเลือกให้เป็นแพลตฟอร์มเดสก์ทอปแบบแรกในโลก "app ตัวเด็ด" ของธุรกิจคอมพิวเตอร์โลก - ด้วยโปรแกรม VisiCalc ที่ใช้ทำใบปลิวและเอกสารแบบง่ายๆ โดย VisiCalc สร้างตลาดธุรกิจสำหรับ Apple II และให้ผู้ใช้ที่บ้านด้วยเหตุผลเพิ่มเติมเพื่อซื้อความเข้ากันได้ของ Apple II กับสำนักงาน ตาม Brian Bagnall ในตอนแรก Apple สร้างตัวเลขยอดขายที่พูดเกินจริงและมียอดขายเป็นอันดับ 3 รองจาก Commodore และ Tandy จน VisiCalc ได้เปิดตัวและมาพร้อมกับ Apple II ยอดขายจึงสูงขึ้น
ณ สิ้นปี 1980 แอปเปิลมีทีมงานของนักออกแบบคอมพิวเตอร์และสายการผลิตของตนเอง ในช่วงเดียวกันบริษัทได้เปิดตัว Apple III ในเดือนพฤษภาคม 1980 ด้วยความพยายามที่จะแข่งขันกับไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ในตลาดคอมพิวเตอร์ธุรกิจและองค์กร แต่กลับประสบความล้มเหลว
ต่อมา Jobs และพนักงานแอปเปิลหลายคน รวมทั้ง Jef Raskin เยี่ยมชมบริษัท Xerox PARC ในธันวาคม 1979 เพื่อดู Xerox Alto ซีร็อกซ์ได้รับวิศวกรของแอปเปิลสามวันของการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก PARC ตอบแทนสำหรับตัวเลือกในการซื้อ 100,000 หุ้นของแอปเปิลที่ราคา IPO ก่อน $ 10 หุ้น งานเชื่อมั่นทันทีว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอนาคตจะใช้อินเตอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) และการพัฒนาของ GUI เริ่มสำหรับแอปเปิลลิซ่า
เมื่อแอปเปิลเข้าสู่ตลาดหุ้นจะสามารถสร้างทุนมากกว่า IPO ใด ๆ ตั้งแต่ฟอร์ดมอเตอร์ บริษัท ในปี 1956 และทันทีที่สร้างเศรษฐีมากขึ้น (ประมาณ 300) กว่า บริษัท ใด ๆ ในประวัติศาสตร์
ต่อมาเมื่อเข้ายุค 80s Steve Jobs ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์อีกรุ่นในชื่อ Apple Lisa ในปี 1978 แต่แล้วในปี 1982 เขาได้ถูกขับออกจากทีมพัฒนานี้ด้วยเหตุทะเลาะวิวาทภายในทีม ทำให้ Steve ต้องไปทำโปรเจกต์คอมพิวเตอร์ที่ตั้งใจให้มีราคาย่อมเยาอย่าง Macintosh ที่ Jef Raskin ได้เริ่มทำเอาไว้ สงครามในบริษัทที่ต้องงัดข้อกันระหว่าง Jobs และมนุษย์ออฟฟิศเริ่มปะทุขึ้นเรื่อยๆ ถกเถียงกันว่าผลิตภัณฑ์ไหนควรจะได้รับการเปิดตัวก่อนกัน โดยกลายเป็นว่า Lisa ได้รับการเลือกให้เปิดตัวออกมาก่อนในปี 1983 โดย Lisa ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกที่มาพร้อมกับ GUI แต่กลับล้มเหลวอย่างมาก ด้วยราคาขายปลีกที่สูงเกินไป จนลูกค้าซื้อไม่ได้
ดังนั้นในปีต่อมา 1984 ก็เป็นคิวของการเปิดตัว Macintosh ที่คราวนี้ขอเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ด้วยโฆษณาทีวีทุนสร้างสูงมหาศาลเป็นประวัติการณ์ด้วยเงินจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในโฆษณาชื่อ ‘1984’ ซึ่งได้รับการกำกับโดย Ridley Scott มากำกับหนังโฆษณาให้ ด้วยออกฉายในช่วงพักโฆษณาในงาน Super BOWL X V III ในวันที่ 22 มกราคม 1984
โดยถือว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นงานชิ้นโบว์แดงของแอปเปิลที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม สร้างประกฎการณ์และภาพจำให้กับคนดูโทรทัศน์ในช่วงนั้นกับผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ที่เหมือนจะมากอบกู้ผู้บริโภคจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบเดิมๆในยุคนั้น ซึ่ง IBM กำลังครองตลาดอยู่
ในช่วงแรกนั้น Macintosh ขายได้ดีมาก สามารถสร้างเม็ดเงินให้บริษัทเป็นจำนวนสูง แต่ต่อมายอดขายกลับตกลงมาเรื่อยๆ สอดคล้องกับความนิยมในตัวเครื่อง เนื่องด้วยราคานั้นสูงเกินไป อีกทั้งซอฟต์แวร์ที่จะมารองรับกลับมีอย่างจำกัด แต่สถานการณ์กลับดีขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการเปิดตัว LaserWriter อันเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่เปิดตัวด้วยราคาที่สมเหตุสมผล และ PageMaker ที่เป็นซอฟต์แวร์เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์เป็นซอฟต์แวร์แรกๆ หลังจากนี้ Macintosh กลายเป็นพระเอกในท้องตลาดเลยทีเดียว เนื่องด้วยความสามารถด้านกราฟิกที่สูงกว่าคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีการนำเอา Macintosh GUI ที่โดดเด่นที่สุดในตลาดมาใช้ ดังนั้นการที่จับเอาผลิตภัณฑ์ทั้งสามแบบข้างต้นนี้มารวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถทำให้ Macintosh ตีตลาดผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาทำสื่อสิ่งพิมพ์ได้เป็นอย่างดี
ต่อมาในปี 1985 สถานการณ์ในบริษัทกลับตึงเครียดมากขึ้น เมื่อความผิดใจแบบลึกๆระหว่าง Jobs และ John Sculley ผู้ที่เป็น CEO ของ Apple ในขณะนั้น กลับชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความที่บอร์ดผู้บริหารของ Apple พยายามจะจำกัดสิทธิ์เสียงของ Jobs ในบริษัท อีกทั้งยังมอบหมายงานใหญ่ๆให้ Sculley เป็นคนตัดสินแทน ทำให้ Jobs รู้สึกอึดอัดมาก หลายครั้งที่เขาพยายามนัดประชุมบอร์ดผู้บริหารโดยที่ไม่มี Sculley ทำให้สุดท้ายแล้ว Jobs ถูกไล่ออกจากบริษัทที่เขาเป็นคนสร้างมันขึ้นมากับมือ ทำให้เขาต้องออกไปเปิดบริษัท NeXT Inc. ในปีเดียวกัน
ปี 1991 หลังจากการลาออกของ Jobs ก็ถือเป็นอีกช่วงที่สำคัญของ Apple ด้วยความที่ Apple ได้เรียนรู้ถึงความผิดพลาดของ Macintosh Portable ที่เปิดตัวในปี 1989 ด้วยความที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไป รวมไปถึงสมรรถนะตัวเครื่องที่ต่ำกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง ทำให้ยอดขายตกต่ำ ไม่เดินเลย ดังนั้นในปี 1991 Apple จึงได้เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาสมัยใหม่เครื่องแรกของโลกในชื่อ PowerBook ซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลของคอมพิวเตอร์แล็ปทอปในปัจจุบัน
ส่วนตัว Macintosh Portable ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ Macintosh แต่กลับมีน้ำหนักที่สูงจนเกินไป และมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ 12 ชม. ในปีเดียวกัน Apple เปิดตัว System 7 ซึ่งเป็นการอัพเกรดระบบปฏิบัติการของ Apple ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเพิ่มอินเตอร์เฟซแบบสี และเปิดตัวคุณสมบัติการเชื่อมต่อแบบใหม่ล่าสุดในยุคนั้น โดย System 7 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งฐานรากของ Mac OS X อันโด่งดังในปัจจุบันเลยทีเดียว
การเปิดตัว PowerBook นั้นถือได้ว่าประสบความสำเร็จและสามารถสร้างเม็ดเงินเข้าบริษัทได้อย่างมาก เรียกได้ว่าช่วงปี 1990-1991 นั้นเป็นช่วงขาขึ้นของบริษัทเลยก็ว่าได้ โดยหนังสือนิตยสาร MacAddict นั้นขนานนามช่วงนี้ว่าเป็น The Golden Age ของ Apple เลยทีเดียว
โดยนอกจาก PowerBook แล้ว ยังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน คือ Macintosh LC ที่ Apple ก็ไม่รอช้า ส่ง Centris ผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งชนิดออกมาสานต่อความสำเร็จทันที นอกจากนี้ยังมี Quadra อันเป็นคอมพิวเตอร์ราคาย่อมเยา เบาๆ สำหรับผู้ใช้งบน้อย และ Performa ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา กลายเป็น ความงงงวยของผู้บริโภค ที่แยกผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไม่ออกว่าตำแหน่งทางการตลาดของแต่ละตัวนั้นอยู่ที่ตรงไหน ด้วยความที่ความสามารถของแต่ละตัว และราคา กลับไม่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แทนที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยสร้างฐานกลุ่มลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ทำให้เกิดความสับสน และความไม่เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะผลิตขึ้นมาทำไม
ในช่วงเวลานี้เองที่ Apple ได้ลองผิดลองถูกกับผลิตภัณฑ์หลายๆชนิด ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูปดิจิตอล, เครื่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่น CD หรือ ลำโพง, เครื่องเล่นวิดีโอเกม, หรือ TV Set Top Box ซึ่งล้วนแต่ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้จริง และเป็นเพียงการนำเอาสินค้ายี่ห้ออื่นมาเปลี่ยนตราเป็น Apple
นอกจากสินค้าอื่นๆข้างต้นแล้ว Apple ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ของโลกในชื่อ Newton ที่เป็นต้นแบบของ PDA หรือ Personal Digital Assistance ในเวลาต่อมา แต่นั่นก็ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไรให้กับบริษัทเลย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ราคาหุ้นและส่วนแบ่งตลาดของ Apple ถดถอยลงไปทุกที
การที่ Apple จะพยายามพลิกสถานการณ์อันย่ำแย่นั้น ดูเหมือนจะทำได้ยากเหลือเกิน การที่ Apple II นั้นมีราคาสูงเกินไปสำหรับผู้บริโภค Apple จึงจัดการเปิดตัว Macintosh LC อันเป็นอีกโมเดลหนึ่งของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาย่อมเยา โดยมีคุณสมบัติช่องขยายเดียวสำหรับ Apple IIe Card โดยเป็นการที่ถือได้ว่า พยายามนำเอาประสิทธิภาพที่สูงกว่าของ Apple II มาให้กับผู้ใช้ Macintosh แต่อย่างไรก็ตาม Apple เลิกผลิตและจำหน่าย Apple IIe ในปี 1993
สถานการณ์ในช่วงนี้ กลับกลายเป็นย่ำแย่อย่างที่ไม่มีใครเคยคาดคิด ด้วย Windows ที่กำลังแซงหน้า Apple แบบทิ้งห่าง เพราะชูจุดเด่นเรื่องราคาที่ถูกกว่า Apple อย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ Apple เอง พยายามจะสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมและประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่กลายเป็นว่า ราคาขายปลีกนั้นสูงเกินไปที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเข้าถึง นอกจากสถานการณ์การเงินของบริษัทจะเข้าขั้นตกต่ำแล้ว Apple ยังได้ไปฟ้องร้อง Microsoft ในกรณีที่ลอกเลียนกราฟิกอินเตอร์เฟซใน Windows โดยฟ้องร้องนี้ดำเนินไปอย่างยาวนานนับปี สุดท้ายแล้ว Apple ก็ประสบความล้มเหลวในทุกๆด้าน จน Sculley ต้องลาออกไป แล้วมอบหมายให้ Michael Spindler มารับหน้าที่ในตำแหน่ง CEO แทนเขาเอง
ในช่วงต่อไปนี้ อันเป็นปี 1994-1997 Apple ได้พัฒนาแพลตฟอร์มระบบปฏิบัติการอื่นๆที่ต่อยอดมาจาก Macintosh เช่น A/UX นอกจากนี้ยังได้ทดลองเปิดตัวโลกออนไลน์สำหรับ Macintosh โดยเฉพาะในชื่อ eWorld ซึ่งได้พัฒนาร่วมกับ America Online และถูกออกแบบมาให้เป็นมิตรกับเครื่อง Macintosh ทุกเครื่อง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้ Macintosh ที่ไม่ต้องการใช้ CompuServe ในการออนไลน์และท่องเว็บไซต์
แต่อย่างไรก็ตาม กลายเป็นว่า Macintosh นั้นล้าสมัยในช่วงเวลานั้นไปเสียแล้ว เนื่องจากไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำหลายๆโปรแกรมได้ในเวลาเดียวกัน หรือ Multitasking และซอฟต์แวร์สำคัญๆบางซอฟต์แวร์ยังถูกกรอบบังคับให้ใช้ได้เฉพาะบางรุ่นอีกต่างหาก ทำให้นั่นเป็นข้อบังคับจนเกินไป แน่นอนว่า Apple ต้องการแพลทฟอร์มใหม่สำหรับ Macintosh แล้ว เพื่อได้แข่งกับ Sun Microsystems และผู้ผลิต/พัฒนา OS/2 และ UNIX อื่นๆได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเสียที
ในปี 1994 Apple ร่วมกับ IBM และ Motorola ในการพัฒนาแพลทฟอร์มคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ ที่จะเป็นการผนวกกันระหว่าง hardware ของ IBM และ Motorola กับ software จาก Apple โดยหวังว่าการรวมตัวกันพัฒนาครั้งนี้จะช่วยทำให้ Apple กลับไปนำหน้า Microsoft ได้อีกครั้ง ในปีนั้นเอง หลังจากการร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มล่าสุด Apple ก็พร้อมเปิดตัว Power Macintosh เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกจาก Apple ที่ใช้ IBM PowerPC processor
ในปี 1996 ได้มีการเปลี่ยนตำแหน่ง CEO อีกครั้ง โดย Gil Amelio มาดำรงตำแหน่งนี้แทน Michael Spindler โดย Amelio ได้ทำการปลดพนักงานจำนวนมาก อีกทั้งยังริเริ่มโครงการผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งมาสู่ความล้มเหลวทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Taligen, Copland และ Gershwin ดังนั้น Amelio จึงเลือกที่จะซื้อบริษัท NeXT และระบบปฏิบัติการ NeXTSTEP เป็นของ Apple เพื่อจะนำตัว Steve Jobs กลับเข้ามาทำงานใน Apple อีกครั้งในตำแหน่งที่ปรึกษา แต่ในปี 1997 Jobs กลับถูกเลือกให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง CEO แทน เพื่อเป็นการกอบกู้ บริษัทที่เขาเป็นคนสร้างมันขึ้นมา
ภารกิจแรกที่ Jobs ทำ เกิดขึ้นในปี 1997 ในงาน Macworld Expo โดยเขาได้ประกาศร่วมมือกับคู่อริอย่าง Microsoft เป็นครั้งแรก ด้วยการเอา Microsoft Office มาเปิดตัวบน Macintosh และให้ Microsoft ทำการซื้อหุ้นของ Apple เป็นจำนวน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วงปลายปีนั้น Apple ได้เปิดตัว Apple Store เป็นครั้งแรก ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในด้าน build-to-order
ในปีต่อมา Jobs ทำการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นใหม่อีกครั้ง ในชื่อ iMac ที่สร้างความโด่งดังไปทั่วโลก โดยมีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกับ Macintosh รุ่นแรกที่เขาเป็นคนพัฒนา ออกแบบโดยนักออกแบบผลิตภัณฑ์คนสำคัญของ Apple ผู้ที่ฝากผลงานการออกแบบไว้กับ iPod และ iPhone เช่นกัน นั่นก็คือ Jonathan Ive โดย iMac นั้นโดดเด่นทั้งรูปลักษณ์และความสามารถ ส่งผลให้ยอดขายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยสถิติ 800,000 เครื่องในเวลาเพียง 5 เดือนหลังออกขาย
ช่วงนี้เอง ที่ Apple ได้ทำการซื้อหลายๆบริษัทให้เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Macromedia กับซอฟต์แวร์ Final Cut เพื่อนำมาทำเป็นซอฟต์แวร์สำหรับตัดต่อไฟล์งานวิดีโอ โดยในสองปีต่อมา Apple ได้เปิดตัว iMovie สำหรับผู้ใช้ทั่วไปได้ตัดต่อวิดีโอ กับ Final Cut Pro สำหรับมืออาชีพ นอกจากนี้ Apple ยังได้เข้าซื้อ Nothing Real ละ Emagic เพื่อนำมาพัฒนาให้เป็นโปรแกรม GarageBand อันเป็นซอฟต์แวร์สร้างเพลงแบบง่ายๆ ให้กับผู้บริโภคในเวลาต่อมา